การสมัครเข้าศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา

มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยแต่ละแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกามีมาตรฐานระเบียบการสมัครและมาตรฐานการรับนักศึกษาเข้าเรียนไม่เหมือนกัน ดังนั้นนักศึกษาจะต้องทำการสมัครเรียนแยกกันในแต่ละสถานศึกษา

ถึงแม้ว่านักศึกษาได้ตัดสินใจแล้วว่าต้องการที่จะเข้าเรียนที่ไหน นักศึกษาควรจะสมัครเรียนที่อื่นไว้ด้วยในกรณีที่วิทยาลัยที่เลือกไว้ไม่รับนักศึกษาเข้าเรียน และอย่างน้อยที่สุดควรจะเลือกสมัครเข้าเรียนในหนึ่งหรือสองวิทยาลัยที่อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาเห็นว่าตัวเองมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะสมัครเข้าเรียน เนื่องจากมีนักศึกษาจากทั่วโลกมาแข่งขันเข้าสมัครเข้าเรียนด้วยเหมือนกัน และทางวิทยาลัยจะรับนักศึกษาเข้าเรียนในจำนวนจำกัดเท่านั้น

วิทยาลัยส่วนใหญ่สนับสนุนให้นักศึกษาชาวต่างชาติทำการติดต่อกับสถานศึกษาที่ตนเองอยากเข้ารับการศึกษาหนึ่งปีก่อนที่จะทำการวางแผนใดๆ

ขั้นตอนการสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกามีดังต่อไปนี้:

เขียนจดหมายถึงสถานศึกษาหลายๆแห่ง หลังจากที่นักศึกษาได้เลือกสถานที่ศึกษาแล้ว ควรทำการติดต่อสถานศึกษาเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสมัครเข้าเรียนของนักศึกษาชาวต่างชาติและแบบฟอร์มการสมัครต่างๆ นักศึกษาสามารถหาข้อมูลของสถานศึกษาต่างๆ ได้ในนิตยาสารเล่มนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หรือไปที่ลิงก์ “Request Information” ในเว็บไซต์ www.studyusa.com เพื่อขอรับข้อมูลผ่านทางออนไลน์ หรือติดต่อกับสำนักงานฝ่ายรับสมัครนักศึกษาโดยตรงด้วยการกดปุ่ม “Apply Now” ในหน้าของสถานศึกษาที่เว็บไซต์ StudyUSA.comถ้านักศึกษามีความสนใจที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษ (ตัวอย่างเช่น ESL)

นักศึกษาควรจะเขียนจดหมายถึงสำนักงานฝ่ายรับสมัครนักศึกษาแต่ละแห่งโดยตรง

สำหรับการสมัครเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้น นักศึกษาจะต้องทำการสมัครขอเข้ารับการศึกษาในบัณฑิตวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชาที่นักศึกษาได้ทำการศึกษามาแล้วโดยตรง เช่น สาขาวิชาฟิสิกส์หรือวิชาประวัติศาสตร์ เป็นต้น และควรติดต่อฝ่ายรับสมัครนักศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยหรือประธานคณะโดยตรง

นักศึกษาที่ต้องการจะศึกษาต่อที่บัณฑิตวิทยาลัยควรมีผลการเรียนที่ดี

กรุณาแจ้งให้สถานศึกษาทราบว่านักศึกษาได้ข้อมูลของสถานศึกษามาจาก Study in the USA ®

ส่งใบสมัคร มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่่คัดเลือกนักศึกษาจากผลการเรียนและผลคะแนนสอบ เช่น TOEFL, the SAT หรือ ACT ถ้านักศึกษาสมัครเข้าเรียนที่บัณฑิตวิทยาลัย นักศึกษาจะต้องแสดงคะแนนผลการสอบเพิ่มเติม เช่น the GRE, GMAT เป็นต้น สำนักงานฝ่ายรับสมัครนักศึกษาหรือทางฝ่ายคณะของบัณฑิตวิทยาลัยจะส่งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตรวิชาและใบสมัคร

(นักศึกษาอาจจะสามารถขอรับใบสมัครของสถานศึกษาบางแห่งได้ด้วยตัวเองที่เว็บไซต์ของสถานศึกษา หรือที่ศูนย์แนะแนวการศึกษาประจำท้องถิ่น) ค่าสมัครต่อหนึ่งแบบฟอร์มการสมัครเข้ารับการศึกษาคือ 35-100 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นค่าดำเนินการใบสมัครและไม่สามารถเอาคืนได้ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการยอมรับให้เข้ารับการศึกษาก็ตาม

ใบสมัครส่วนใหญ่จะถามข้อมูลต่างๆดังต่อไปนี้:

  • ข้อมูลส่วนตัว---รวมไปถึงชื่อ, อายุ, ที่อยู่, ภูมิหลังครอบครัว, สถานที่เกิด, สัญชาติ และอื่นๆ
  • กิจกรรมต่างๆที่เข้าร่วม---รายชื่อของสโมสรที่เป็นสมาชิกอยู่, รางวัลที่ได้รับ, ประสบการณ์ด้านการกีฬา หรือตำแหน่งทางผู้นำที่เคยมี
  • แผนการศึกษา---เขียนบทความสั้นๆในหัวข้อที่ว่าทำไมนักศึกษาถึงต้องการที่จะเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาแห่งนี้, คณะวิชาอะไรที่นักศึกษาต้องการศึกษา, อาชีพในฝัน และแผนการทำการวิจัยค้นคว้า
  • บทความ---สถานศึกษาบางแห่งมีหัวข้อบทความให้นักศึกษาเลือก กรุณาดูที่ Sidebar
  • จดหมายรับรองM---ในแบบฟอร์มใบสมัครเข้ารรับการศึกษาจะมีกระดาษเปล่าอยู่สองสามใบไว้สำหรับเขียนจดหมายรับรอง ให้นักศึกษาขออาจารย์สองสามท่านเขียนจดหมายรับรองและส่งตรงไปที่สถานศึกษาที่นักศึกษาได้เลือกไว้

ควรส่งใบสมัครเข้ารับการศึกษาก่อนที่จะหมดเขตการรับสมัคร

การสมัครสอบเพื่อขอเข้ารับการศึกษา นักศึกษาที่สมัครเข้ารับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องทำการสอบเพื่อวัดสมรรถภาพและประเมินผลการศึกษา นักศึกษาชาวต่างชาติต้องทำการทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ โดยการสมัครขอเข้าสอบได้ที่ศูนย์การทดสอบซึ่งตั้งอยู่ทั่วโลก ซึ่งมีมาตรฐานการทดสอบเหมือนกันทุกศูนย์ ผลการทดสอบของนักศึกษาจะถูกสำนักงานฝ่ายรับสมัครพิจารณาในด้านความสามารถของนักศึกษา และยังมีการเปรียบเทียบผลการทดสอบกับผลการทดสอบของนักศึกษาคนอื่นๆอีกด้วย

เมื่อเข้าทำการทดสอบเพื่อขอเข้ารับการศึกษาแล้ว ผลการทดสอบจะถูกส่งตรงไปที่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยที่นักศึกษาได้สมัครไว้ นักศึกษาอาจจะถูกถามชื่อของสถานศึกษาเวลาขอสมัครเข้าทำการทดสอบบางตัว เช่น the SAT หรือ ACT หรือในกรณีที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทดสอบนั้น นักศึกษาสามารถระบุสถานศึกษาได้ที่ศูนย์ทำการทดสอบ แล้วทางศูนย์จะทำการส่งผลการทดสอบไปยังสถานศึกษาเหล่านั้นโดยตรง และถ้านักศึกษาต้องการผลการทดสอบหลังจากนั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกผลสอบ

การรับจดหมายยอมรับเข้าเรียน หลังจากหมดเขตการรับสมัคร นักศึกษาจะได้รับจดหมายจากทางสถานศึกษาที่ได้สมัครไว้ บางสถานศึกษาบอกผลกับนักศึกษาทันทีหลังจากที่สำนักงานฝ่ายรับสมัครได้รับเอกสารการสมัครจากนักศึกษา ซึ่งเรียกว่า “rolling admissions.” แต่สถานศึกษาอื่นๆ รอหลายเดือนก่อนแล้วแจ้งนักศึกษาให้ทราบพร้อมกันทีเดียว

การจ่ายค่ามัดจำ สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดเวลาให้นักศึกษาจ่ายค่ามัดจำล่วงหน้าเพื่อจองที่ในห้องเรียนในวันแรก สำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติแล้วอาจจะต้องจ่ายค่ามัดจำล่วงหน้าเป็นค่าการเรียนการสอนต่อหนึ่งเทอมหรือต่อหนึ่งปี

นักศึกษาควรจะจ่ายค่ามัดจำล่วงหน้าทันทีถ้าต้องการที่จะสมัครขอความช่วยเหลือด้านการเงินหรือถ้าต้องการวางแผนที่จะพักอาศัยที่หอพักนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เนื่องจากสถานศึกษาหลายแห่ง่มีห้องพักไม่เพียงพอให้นักศึกษาทุกคนพักอาศัยอยู่ ดังนั้นนักศึกษาจะมีโอกาสที่จะได้ที่พักในหอพักมากกว่าถ้านักศึกษาจ่ายค่ามัดจำและส่งใบสมัครขอที่พักอาศัยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

สถานศึกษาที่นักศึกษาเลือกไว้อาจจะขอให้นักศึกษาแสดงรายการบัญชีเงินฝากเพื่อดูว่านักศึกษามีงบเพียงพอตลอดปีการศึกษาหรือไม่ ถ้ามีทุนการศึกษาจากรัฐบาลหรือบริษัทนักศึกษาต้องแสดงรายละเอียดให้กับสถานศึกษาด้วย

การเขียนบทความที่ดี

นักศึกษาอาจจะไม่คุ้นเคยกับวิธีการแบบอเมริกันที่จะต้องเขียนบทความส่วนตัวเพื่อส่งไปพร้อมกับใบสมัครขอเข้ารับการศึกษา ดังนั้นเรามีวิธีการเขียนบทความดีๆมาแนะนำให้ดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 1: ตั้งหัวข้อบทความที่ดี หัวข้อบทความที่ดีควรจะมีความหมายสำหรับผู้เขียนเป็นการส่วนตัว เปิดเผยถึงความเป็นตัวคุณ แสดงความมีคุณค่าในตัวคุณ สิ่งที่คุณสนใจ และชี้แจงว่าทำไมคุณถึงดีกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ เขียนถึงสิ่งที่ผู้ตัดสินไม่สามารถมองเห็นได้จากผลการศึกษา จากวิชาได้เรียนมาหรือสิ่งอื่นๆที่มีอยู่แล้วในใบสมัคร การเลือกหัวข้อบทความมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คุณเริ่มต้นจากการถามตัวเองว่าคุณชอบอะไร ทำอะไรมาบ้าง หรืออยากจะไปที่ไหน

ขั้นที่ 2: เขียนบทความ การเขียนบทความต้องใช้เวลา ไม่ควรรีบเร่งทำให้เสร็จภายในช่วงเวลาสั้นๆในตอนบ่าย ควรให้ความสำคัญกับข้อแนะนำต่างๆ เขียนให้ผู้อ่านสนใจที่จะอ่านให้จบทั้งบทความ ใช้คำง่ายๆในการเขียนอธิบายความคิดของคุณ ไม่จำเป็นต้องใช้่คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นทางการมากมายเพื่อแสดงความสามารถในด้านภาษาของคุณ เขียนแสดงความต่างๆ ด้วยการใช้ตัวอย่าง

ขั้นที่ 3: ค่อยๆเขียนไปเรื่อยๆและขอคำแนะนำ ควรเริ่มต้นการเขียนบทความล่วงหน้านานๆ เพื่อที่คุณจะได้มีเวลาหยุดพักเขียนสองถึงสามวัน หรือเป็นอาทิตย์แล้วกลับมาเขียนใหม่ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีมุมมองใหม่ๆในบทความของคุณ ควรให้เพื่อนๆหรือสมาชิกในครอบครัวอ่านบทความของคุณเพื่อให้พวกเขาแนะนำหรือบอกในสิ่งที่คุณลืมเขียนลงในบทความได้ ขอให้เขียนอย่างสนุก ค่อยๆเขียน และเขียนสื่อสารความเป็นตัวคุณให้ดีที่สุด!

ข้อแนะนำในการทำข้อสอบ

เมื่อกำลังเตรียมตัวเพื่อการทดสอบต่างๆที่พูดถึงในบทความนี้ นักศึกษาควรจำไว้เสมอว่าคำแนะนำที่ดีที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นคือพื้นฐานที่จำเป็น ความเชี่ยวชาญในด้านภาษาอังกฤษเกิดขึ้นได้จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องและการทำแบบฝึกหัด

1.เตรียมพร้อมในการสอบล่วงหน้า ใช้เครื่องมือในการเตรียมความพร้อมต่างๆที่มีอยู่แล้วเพื่อสร้างความคุ้นเคยในโครงสร้างและคู่มือการทำข้อสอบ ข้อแนะนำในการทำข้อสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือกระดาษนั้นจะมีให้ทุกๆ ครั้งที่มีการสอบ

2.ศึกษาคำถามตัวอย่างที่มีอยู่และทำแบบฝึกหัด ส่วนใหญ่แล้วจะมีตัวอย่างคำถามและข้อความต่างๆให้ศึกษาพร้อมกันกับตัวอย่างข้อสอบ ควรทำแบบฝึกหัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนการสอบจริง

3.สร้างบรรยากาศของสถานที่ทำการสอบ สร้างบรรยากาศในที่ที่คุณอ่านหนังสือสอบให้เหมือนกับห้องสอบให้มากที่สุด ตั้งเวลาในการทำแบบฝึกหัดและพยายามทำแข่งกับเวลาเหมือนกับเวลาจริงในห้องสอบ มองหาจุดที่คุณต้องปรับปรุงแก้ไขแล้วตั้งใจศึกษาในจุดนั้นๆ

4.ใช้บริการในแหล่งข้อมูลทุกที่ี เมื่อคุณรู้แนวข้อสอบและวิธีการให้คะแนนสอบ จะช่วยให้คุณทำข้อสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดคือเว็บไซต์ ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่ทางอินเตอร์เน็ตนั้นจะมีให้ฟรี และเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้คำแนะนำที่ดีเพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการทำข้อสอบ

5.ทำตามข้อแนะนำ ก่อนทำข้อสอบควรอ่านข้อแนะนำในการทำข้อสอบทั้งหมด ทำความเข้าใจกับจุดประสงค์และคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตรงกับจุดประสงค์นั้นๆ ไม่ต้องกังวลถ้าคุณไม่รู้คำตอบ—ให้ความสนใจกับคำถามที่ทำอยู่ และทำให้ดีที่สุด อย่าใช้เวลามากเกินไปกับคำถามเดียว ให้ตั้งเวลาให้เพียงพอในการตอบคำถามทุกข้อในข้อสอบ

6.ทำตัวให้สบายและมีความมั่นใจ พักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันสอบ จำไว้ว่าถ้าคุณพักผ่อนอย่างเพียงพอและเตรียมตัวมาอย่างดีแล้ว คุณจะรู้สึกดีและคิดในแง่บวกตลอดการทำข้อสอบ

คำศัพท์

Transcript ใบรับรองผลการศึกษา
Credit หน่วยกิตวิชา บ่อยครั้งที่จะหมายถึงชั่วโมงเรียนในห้องเรียนของแต่ละวิชาในหนึ่งสัปดาห์
Undergraduate นักศึกษาที่กำลังทำการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี แต่ยังไม่ได้รับปริญญา
Graduate school บัณฑิตวิทยาลัย เป็นวิทยาลัยที่เปิดสอนนักศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป
GPA-Grade Point Average เกรดเฉลี่ย เป็นตัวเลขวัดผลการศึกษาโดยยึดจากหน่วยกิตวิชาที่เรียนและผลการสอบเป็นหลัก