ทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา

ระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกามีหลายสาขาวิชาให้นักศึกษาชาวต่างชาติเลือก นักศึกษาจะต้องทำการตัดสินใจเลือกตั้งแต่ประเภทของโรงเรียน หลักสูตรวิชาเรียน และสถานที่ตั้งของโรงเรียน ซึ่งมีตัวเลือกให้เลือกอย่างมากมายล้นหลาม ดังนั้นการที่นักศึกษาจะทำการตัดสินใจเลือกที่เรียนได้นั้น นักศึกษาต้องทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาของประเทศนี้ก่อน เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเลือกโรงเรียนและวางแผนการศึกษาของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา

โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา

ก่อนที่นักศึกษาจะสามารถเข้าทำการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นสูง (Higher education) ได้นั้น นักศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาก่อน ซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด 12 ปี ชาวอเมริกันเรียกแต่ละปีเหล่านี้ว่า “เกรด” มีตั้งแต่เกรดหนึ่งไปจนถึงเกรดสิบสอง เด็กนักเรียนชาวอเมริกันเริ่มต้นเข้ารับการศึกษาเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ โดยเริ่มศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษาก่อนหรือที่เรียกกันว่า “Elementary school” ใช้เวลาศึกษาในระดับนี้ทั้งหมดห้าถึงหกปีแล้วจึงสามารถเข้าทำการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา

โรงเรียนมัธยมศึกษาหรือ Secondary school มีสองหลักสูตรด้วยกัน หลักสูตรแรกคือ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น หรือที่เรียกกันว่า “Middle school” หรือ “Junior high school” หลักสูตรที่สองคือหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ High school และนักศึกษาจะได้รับใบประกาศนียบัตรก็ต่อเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังจากนั้นนักศึกษาจึงสามารถสมัครเข้าทำการศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งเรียกกันว่า “Higher education”

ระบบการให้เกรด

นักศึกษาชาวต่างชาติต้องแนบใบประเมินผลการศึกษาของตนพร้อมกับใบสมัครเข้าวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาให้เหมือนกับนักศึกษาชาวอเมริกันคนอื่น ๆ ซึ่งใบประเมินผลการศึกษานี้จะเป็นเอกสารหลักในการแสดงผลการศึกษาของนักศึกษา ได้แก่ เกรดและเกรดเฉลี่ย (GPA) ซึ่งเป็นตัววัดผลการศึกษาของนักศึกษา และการให้เกรดในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นจะให้เป็นเปอร์เซ็น และจำนวนเปอร์เซ็นจะถูกผันแปรเป็นเกรดแบบตัวอักษร

บางครั้งระบบการให้เกรดและเกรดเฉลี่ย (GPA) ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีความยุ่งยากซับซ้อนและทำให้นักศึกษาสับสน โดยเฉพาะกับนักศึกษาชาวต่างชาติ อีกทั้งมีการผันแปรเกรดด้วย ตัวอย่างเช่น มีนักศึกษาสองคนสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาคนละแห่ง ทั้งคู่ยื่นใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัยพร้อมกันและมีเกรดเฉลี่ยเท่ากันคือ 3.5 GPAs แต่นักศึกษาคนหนึ่งสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาธรรมดา แต่นักศึกษาอีกคนสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านวิชาการ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยอาจจะมองดูเกรดเฉลี่ยในใบประเมินผลการศึกษาและให้คะแนนนักศึกษาทั้งสองคนต่างกัน เนื่องจากทั้งสองคนมาจากโรงเรียนที่มีมาตรฐานทางการศึกษาไม่เหมือนกัน

ดังนั้น นักศึกษาควรจดจำสิ่งที่สำคัญดังต่อไปนี้:

  • นักศึกษาควรรู้ว่าวุฒิการศึกษาที่เรียนจบมาจากประเทศของตนนั้นเทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาระดับใดในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • นักศึกษาควรทำความเข้าใจกับระเบียบการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยแต่ละแห่ง และควรทำความเข้าใจกับหลักสูตรวิชาที่ตนเองสมัครเรียนด้วย เพราะในบางครั้งอาจมีระเบียบการสมัครที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น
  • นักศึกษาควรรักษาคุณสมบัติในการสมัครเข้าเรียนให้เพรียบพร้อมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนักศึกษาสามารถค้นหาข้อมูลเหล่านี้ได้โดยการพบปะพูดคุยกับอาจารย์ฝ่ายแนะแนวหรือผู้ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาต่ออย่างเป็นประจำ

อาจารย์ฝ่ายแนะแนวหรือผู้ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาต่อจะสามารถบอกนักศึกษาได้ว่านักศึกษาควรจะใช้เวลาปีหรือสองปีในการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ เนื่องจากว่ารัฐบาลและนายจ้างในบางประเทศจะไม่ยอมรับนักศึกษาที่ได้รับวุฒิการศึกษามาจากประเทศอเมริกา แต่นักศึกษามีคุณสมบัติไม่เพียงพอตามระเบียบการไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศของตน

ปีการศึกษา

ปฏิทินการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเริ่มในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายนและดำเนินการเรียนการสอนต่อไปจนถึงเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน นักศึกษาใหม่ส่วนมากจะเริ่มต้นการศึกษาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติในการเริ่มต้นการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยของตนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งความตื่นเต้น นักศึกษาทุกคนกำลังเริ่มต้นการศึกษาใหม่เหมือนกันหมด และกำลังปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ของการเป็นนักศึกษา นักศึกษาจะสามารถพบและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ได้ในช่วงเวลานี้ได้ดีที่สุด นอกจากนั้นแล้ว ทางมหาวิทยาลัยยังได้ออกแบบหลายหลักสูตรวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเริ่มต้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและดำเนินการทำการเรียนการสอนต่อไปจนถึงสิ้นปี

หนึ่งปีการศึกษาของโรงเรียนหลายแห่งประกอบด้วยสองเทอม เรียกว่าระบบ “Semesters“(โรงเรียนบางแห่งมีสามเทอมต่อหนึ่งปีการศึกษาซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าระบบ “trimester”) นอกจากนี้ โรงเรียนบางแห่งได้รวมการเรียนการสอนภาคฤดูร้อนที่เป็นหลักสูตรวิชาเลือกไว้ด้วยกันจึงแบ่งหนึ่งปีการศึกษาออกเป็นสี่เทอม โดยทั่วไปแล้ว ถ้านักศึกษาไม่ได้ลงเรียนภาคฤดูร้อน หนึ่งปีการศึกษาก็จะแบ่งออกเป็นสองเทอม (Semesters) หรือสามส่วนสี่เทอม (trimester)

ระบบการศึกษาขั้นสูงหรือ Higher Education ในประเทศสหรัฐอเมริกา: ระดับของการศึกษา

ระดับแรก: ระดับปริญญาตรี หรือ Undergraduate

นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับนี้คือนักศึกษาผู้ที่ไม่เคยได้รับปริญญาตรีมาก่อน โดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาทั้งหมดสี่ปีในการศึกษาในระดับปริญญาตรี นักศึกษาสามารถเลือกทำการศึกษาในระดับนี้ได้ที่วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยสี่ปี

ในช่วงสองปีแรกของการศึกษาในระดับปริญญาตรี นักศึกษาจะต้องทำการศึกษาแบบกว้างไปก่อน ตัวอย่างวิชาทั่วไปที่นักศึกษาจะได้ทำการศึกษามีดังนี้ วิชาวรรณคดี วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคมศาสตร์ วิชาศิลปศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ และวิชาอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทั่วไปและมีพื้นฐานของหลาย ๆ วิชาก่อนที่จะทำการศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ

มีนักศึกษาหลายคนเลือกศึกษาวิชาที่จำเป็นในวิทยาลัยชุมชนสองปีก่อนเพื่อได้รับอนุปริญญา (AA) แล้วจึงทำการโอนย้ายหน่วยกิตไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยสี่ปี “Major” คือ สาขาวิชา ยกตัวอย่างเช่น ถ้านักศึกษาเลือกศึกษาในสาขาวิชาวารสารศาสตร์ นักศึกษาจะได้รับปริญญาวารสารศาสตร์บัณฑิต ซึ่งนักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาหลายวิชาตามจำนวนที่ทางวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ก่อน เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติที่เพียงพอต่อการศึกษาขั้นต่อไปในสาขาวิชาเฉพาะ และนักศึกษาต้องทำการเลือกสาขาวิชาเฉพาะในต้นปีที่สามของการศึกษา

ระบบการศึกษาขั้นสูงของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีความยืดหยุ่นสูง นักศึกษาที่ทำการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีสามารถเปลี่ยนสาขาวิชาเฉพาะในระหว่างทำการศึกษาได้ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ บ่อยครั้งที่นักศึกษาชาวอเมริกันจะเปลี่ยนใจไปศึกษาสาขาวิชาอื่นที่ชอบมากกว่า แต่ว่าผลของการเปลี่ยนสาขาวิชาในขณะที่ทำการศึกษาอยู่ก็คือนักศึกษาอาจจะต้องลงเรียนวิชาอื่นเพิ่มเติมซึ่งจะทำให้เสียทั้งเวลาและเงินมากขึ้น

ระดับที่สอง: ระดับปริญญาโท หรือ Graduate

ในปัจจุบัน มีบุคคลที่ได้รับวุฒิปริญญาตรีแล้วหลายคนต้องการทำการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทเพื่อตำแหน่งในหน้าที่การงานที่ตนต้องการหรือไม่ก็เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานปัจจุบันของตน ส่วนใหญ่แล้ววุฒิปริญญาโทเป็นที่ต้องการสำหรับการสมัครงานในตำแหน่งระดับสูง โดยเฉพาะสาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาพฤติกรรมสุขภาพ และสาขาศึกษาศาสตร์

นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว นักศึกษาชาวต่างชาติจากบางประเทศได้รับการอนุญาตให้ทำการศึกษาที่ต่างประเทศได้เฉพาะในระดับปริญญาโทเท่านั้น ดังนั้น นักศึกษาควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และใบรับรองต่าง ๆ ที่เป็นที่ต้องการในการสมัครงานที่ประเทศของตนให้แน่ใจก่อนที่จะทำการสมัครเข้าทำการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยทั่วไปแล้วหลักสูตรปริญญาโทเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องยื่นใบแสดงผลสอบ GRE (graduate record examination) พร้อมกับใบสมัคร นักศึกษาต้องยื่นใบแสดงผลสอบตามที่สาขาวิชาที่นักศึกษาได้เลือกไว้กำหนด ตัวอย่างเช่น สาขาวิชากฎหมายต้องยื่นผลสอบ LSAT สาขาวิชาธุรกิจต้องยื่นผลสอบ GRE หรือ GMAT และสำหรับสาขาวิชาแพทย์ต้องยื่นผลสอบ MCAT เป็นต้น

นักศึกษาโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณหนึ่งถึงสองปีในการศึกษาในระดับปริญญาโท ตัวอย่างเช่น สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือ MBA (master of business administration) ซึ่งเป็นสาขาที่มีนักศึกษาเลือกทำการศึกษามากที่สุดจะใช้เวลาทำการศึกษาประมาณสองปี และสำหรับสาขาวิชาอื่นในระดับปริญญาโท เช่น สาขาวิชาวารสารศาสตร์ จะใช้เวลาทำการศึกษาเพียงหนึ่งปีเท่านั้น

การศึกษาส่วนใหญ่จะอยู่ในห้องเรียนและนักศึกษาจะต้องทำการวิจัยค้นคว้าซึ่งเรียกกันว่า “Master’s thesis” หรือต้องทำโปรเจคปริญญาโทให้สำเร็จ (Master’s project)

ระดับที่สาม: ปริญญาเอก หรือ Doctorate Degree

โรงเรียนหลายแห่งมองว่าการสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทนั้นเป็นก้าวแรกของการที่จะได้รับปริญญาเอกหรือ PhD (doctorate) แต่ในโรงเรียนบางแห่งนักศึกษาสามารถทำการศึกษาเพื่อได้รับปริญญาเอกได้โดยที่ไม่ต้องมีปริญญาโท นักศึกษาอาจใช้เวลาทำการศึกษาทั้งหมดประมาณสามปีหรือมากกว่านั้น และสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติอาจใช้เวลาประมาณห้าหรือหกปีในการสำเร็จการศึกษาในระดับนี้

ในช่วงสองปีแรก นักศึกษาปริญญาเอกจะทำการศึกษาในห้องเรียนและห้องสัมมนา และใช้เวลาอย่างน้อยอีกหนึ่งปีในการทำการวิจัยค้นคว้าและเขียนวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ของตนเอง ซึ่งต้องประกอบด้วยมุมมอง การออกแบบ หรือการวิจัยค้นคว้าที่ไม่เคยมีการตีพิมพ์มาก่อน ปริญญานิพนธ์ประกอบด้วยบทสนทนาและบทสรุปของนักศึกษาตามหัวข้อเรื่องที่กำหนดไว้ให้ มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอกส่วนใหญ่จะตั้งกฎให้นักศึกษาต้องมีความรู้ในด้านการอ่านภาษาต่างประเทศได้ถึงสองภาษาด้วยกัน และนักศึกษาต้องออกไปใช้เวลาตามจำนวนเวลาที่กำหนดไว้ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับปริญญานิพนธ์นักศึกษาเขียน ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับประสบการณ์และผ่านข้อทดสอบของหลักสูตรปริญญาเอก ผ่านการสัมภาษณ์เกี่ยวกับปริญญานิพนธ์ที่นักศึกษาได้เขียนไว้ และสุดท้ายได้รับวุฒิปริญญาเอก

ลักษณะเด่นของระบบการศึกษาขั้นสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา

บรรยากาศในห้องเรียน

ห้องเรียนมีหลายขนาดตั้งแต่ห้องเลคเชอร์ขนาดใหญ่ที่มีนักศึกษาหลายร้อยคนเข้าเรียนไปจนถึงห้องเรียนขนาดเล็กและห้องสัมมนา(ห้องประชุม) ที่มีนักศึกษาเพียงแค่สองสามคนเท่านั้น บรรยากาศการศึกษาในห้องเรียนของชาวอเมริกันนั้น นักศึกษาจะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โต้เถียงเพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง มีส่วนร่วมในการสนทนา และนำเสนองานของตน ซึ่งนักศึกษาชาวต่างชาติส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าตื่นใจที่สุดของระบบการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจารย์ผู้สอนจะมอบหมายให้นักศึกษาทำรายงานและอ่านหนังสือทุกอาทิตย์ นักศึกษาจะต้องทำการบ้าน อ่านหนังสืออยู่ตลอดเพื่อที่จะสามารถทำความเข้าใจกับคำบรรยายและมีส่วนร่วมในการสนทนาในชั้นเรียนได้ และในบางครั้งนักศึกษาต้องเข้าใช้ห้องแลปในการศึกษาของบางหลักสูตรวิชาอีกด้วย

อาจารย์ผู้สอนจะให้เกรดนักศึกษาตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้:

  • อาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านจะมีเกณฑ์ให้คะแนนด้านการมีส่วนร่วมในห้องเรียนไม่เหมือนกัน นักศึกษาจะได้คะแนนผ่านการมีส่วนร่วมในบทสนทนาภายในชั้นเรียนโดยเฉพาะในห้องสัมมนา ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการตัดสินให้คะแนน
  • การสอบกลางภาค ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาในช่วงการทำการเรียนการสอน
  • การรวบรวมส่งงานวิจัย การเรียบเรียงภาคนิพนธ์ หรือการส่งรายงานแลปอย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อการประเมินผล
  • การสอบย่อย หรือการตอบคำถามในชั้นเรียน บางครั้งอาจารย์ผู้สอนจะให้นักศึกษาทำข้อสอบหรือตอบคำถามให้ห้องเรียน ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและคอยทำการบ้านที่ให้ไว้อยู่ตลอด
  • การสอบปลายภาค หลังจากการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของชั้นเรียน

หน่วยกิต

หลักสูตรวิชาหนึ่งจะมีหน่วยกิตเป็นตัวเลขหนึ่งจำนวนหรือเป็นจำนวนชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนชั่วโมงที่นักศึกษาทำการเรียนภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่หนึ่งหลักสูตรวิชาจะเท่ากับสามถึงห้าหน่วยกิต

หลักสูตรเต็มเวลาในโรงเรียนส่วนใหญ่จะมี 12-15 หน่วยกิตชั่วโมง (สี่หรือห้าหลักสูตรวิชาต่อหนึ่งเทอม) และนักศึกษาต้องเข้าทำการศึกษาให้ได้จำนวนหน่วยกิตที่กำหนดเพื่อสำเร็จการศึกษา นักศึกษาชาวต่างชาติต้องศึกษาในหลักสูตรเต็มเวลาเท่านั้น

การโอนย้าย นักศึกษาที่ย้ายไปทำการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งใหม่สามารถโอนย้ายหน่วยกิตที่ได้จากมหาวิทยาลัยเดิมมาใช้ในที่ใหม่ได้ ดังนั้นนักศึกษาจึงสามารถย้ายมหาวิทยาลัยและสำเร็จการศึกษาภายในเวลาที่เหมาะสมได้

ประเภทของการศึกษาขั้นสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา

1.มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยรัฐบาล

สนับสนุนและบริหารโดยรัฐบาลของมลรัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่น ทุกหนึ่งของห้าสิบมลรัฐอย่างน้อยจะต้องมีมหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐหนึ่งแห่งและวิทยาลัยอีกสองสามแห่งด้วยกัน และมหาวิยาลัยเหล่านี้จะถูกตั้งชื่อตามชื่อของรัฐนั้น ๆ หรือมีคำว่า “State” อยู่ในชื่อด้วย ตัวอย่างเช่น Washington State University และ the University of Michigan

2.มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยเอกชน

บริหารโดยองค์กรเอกชน มีค่าเล่าเรียนที่สูงกว่าและมีขนาดเล็กกว่ามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของรัฐบาล มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งหมดเป็นของเอกชน ซึ่งสถาบันเหล่านี้เกือบทุกแห่งยอมรับนักศึกษาที่นับถือศาสนาอื่นเข้าเรียน และยังมีหลายสถาบันที่ยอมรับเฉพาะนักศึกษาที่นับถือศาสนาเดียวกันกับสถาบันเข้าเรียน

3. มหาวิทยาลัยชุมชน

คือวิทยาลัยชุมชนสองปีที่นักศึกษาจะได้รับอนุปริญญาเมื่อสำเร็จการศึกษา และสามารถโอนย้ายหน่วยกิตไปศึกษาต่อได้ อีกทั้งมีหลักสูตรประกาศนียบัตรด้วย หลักสูตรอนุปริญญาถูกแยกออกเป็นสองประเภทใหญ่ คือ หลักสูตรทางวิชาการที่สามารถโอนย้ายหน่วยกิตได้ และหลักสูตรประกาศนียบัตรที่เตรียมความพร้อมทางอาชีพให้กับนักศึกษา หลักสูตรวิชาที่สามารถโอนย้ายได้ คือ หลักสูตรวิชา Associate of arts และหลักสูตรวิชา Associate of science และหลักสูตรวิชาที่ไม่สามารถโอนย้ายได้ คือ หลักสูตรวิชา associate of applied science degrees และหลักสูตรประกาศนียบัตร นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนส่วนใหญ่จะทำการโอนย้ายหน่วยกิตไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยสี่ปีเพื่อให้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี เนื่องจากนักศึกษาสามารถใช้หน่วยกิตที่ศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยชุมชนได้ ดังนั้นนักศึกษาจึงใช้เวลาอีกสองปีหรือมากกว่าในการสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีได้ วิทยาลัยชุมชนหลายแห่งเปิดสอนหลักสูตรติวเข้มภาษาอังกฤษ หรือ ESLเพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ถ้านักศึกษาไม่ต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าอนุปริญญา นักศึกษาควรทำการตรวจสอบภายในประเทศของตนว่านักศึกษาสามารถใช้วุฒิอนุปริญญาสมัครงานได้หรือไม่

4.สถาบันเทคโนโลยี

ใช้เวลาอย่างน้อยสี่ปีในการทำการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางแห่งเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท และบางแห่งเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น